39.เทา

13 กุมภาพันธ์ 2561 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ทุเรียนพื้นเมือง

39.เทา
ชื่อพื้นเมือง : เทา
ที่มาของชื่อพื้นเมือง : ชื่อเทามาจากเปลือกผลสีเทา
ลักษณะเด่น : มีลูกประมาณ 70-150 ลูกต่อปี ผลกลม เปลือกผลสีเทา เนื้อบางมาก
สวน : คุณยม จันทสะโร
ลักษณะทางสัณฐาน
ลำต้น : ต้นสูงประมาณ 28 เมตร ทรงพุ่มรูปทรงปิระมิด กว้าง 9 เมตร เส้นรอบวง 1.46 เมตร
           การทำมุมกับลำต้นเป็นมุมแคบ เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ด ไม่มียาง เปลือกนอกสีน้ำตาล (light olive
           brown, 199B) เปลือกในสีน้ำตาลเข้ม (dark greyish yellowish brown, N199B)
ใบ : แผ่นใบรูปทรงป้อมกลางใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบ
       พื้นผิวของใบคล้ายกระดาษ ใบกว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 14-16 เซนติเมตร ใบด้านบนสีเขียว (dark green,
       135A) ใบด้านล่างสีน้ำตาล (moderate yellowish brown, N199C) ใบมีความหนาแน่นปานกลาง
       ทิศทางของใบแบบใบแนวดิ่งองศา ก้านใบกลม สีน้ำตาล (moderate yellowish brown, N199C) ยาว 1-2
       เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร
ดอก : ช่อดอกแบบช่อกระจุก (cyme) ช่อดอกออกบนกิ่ง ดอกอ่อนรูปแบบรูปไข่ ปลายดอกตูมมน
         กลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายหยักของกลีบเลี้ยงแบบสามเหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีเขียว (moderate- olive green,
        137B) ฐานรองดอกสีส้มอมเหลือง (moderate orange yellow, 168D) ดอกยาว 1-2.5 เซนติเมตร
        เกสรเพศเมียยาว 4-5 เซนติเมตร จำนวนกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกรูปช้อน เกสรเพศผู้เป็นมัด
        รูปร่างของเกสรเพศเมียกระจุกมี 5 พู ยอดเกสรเพศเมียสีเหลือง (vivid yellow, 15B)
ช่วงเวลาดอกบานถึงผลแก่ : เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
อายุการเก็บเกี่ยว : 100-130 วัน
การใช้ประโยชน์ : กินสดและกวน
ลักษณะแหล่งที่พบ
ความสูงจากระดับน้ำทะเล : 73 เมตร
สภาพดิน : ดินเหนียวปนทราย อุณหภูมิดินที่ระดับความลึก 5 เซนติเมตร คือ 26-28
               องศาเซลเซียส อุณหภูมิดินที่ระดับความลึก 10 เซนติเมตร คือ 26-28 องศาเซลเซียส
               ความชื้นของดินที่ความลึก 5 เซนติเมตร 2-4 ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 6-7
อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ : อุณหภูมิอากาศ 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 62