คล้า

4 กรกฎาคม 2566 (ผู้ดูแลระบบ) พันธ์ุไม้อุโมงค์ปิยะมิตร 1

ชื่อวิทยาศาสตร์           : Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep.

ชื่อพื้นเมือง                : บูแมจีจ้ะบะแม เบอร์แม ( มลายู-นราธิวาส), บูแมจี่จ๊ะไอย์ (มลายู- ปัตตานี), บูแมจีจ้ะ ไอ (มลายู)
ชื่อวงศ์                     : MARANTACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์                                                                                                                                                               

   ลำต้น เป็นไม้ล้มลุกหรือเป็นไม้ยืนต้นที่มีเนื้ออ่อน เจริญเติบโตขึ้นเป็นพุ่มหรือเป็นกอและมีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งแบบตั้งตรงและเป็นแบบเลื้อย มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน                                                              
   ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาวหรือเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-35 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ มักมีลวดลายและสีสันบนใบที่สวยงาม โคนต้นมีกาบใบหุ้ม แผ่นใบทั้งสองด้านของเส้นกลางใบจะไม่เท่ากัน ในขณะที่ใบยังอ่อนด้านใหญ่จะม้วนหุ้มด้านเล็กไว้ และตรงรอยต่อของก้านใบกับแผ่นใบจะโป่งออก   ดอก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาวหรือเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-35 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ มักมีลวดลายและสีสันบนใบที่สวยงาม โคนต้นมีกาบใบหุ้ม แผ่นใบทั้งสองด้านของเส้นกลางใบจะไม่เท่ากัน ในขณะที่ใบยังอ่อนด้านใหญ่จะม้วนหุ้มด้านเล็กไว้ และตรงรอยต่อของก้านใบกับแผ่นใบจะโป่งออก   ผล  ผลมีลักษณะกลมเป็นพู 3 พู มีขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด

การใช้ประโยชน์                                                                                

   ยารักษาโรค      เหง้าหรือหัวมีรสเย็นและเบื่อ ใช้กินเป็นยาแก้ไข้ รักษาอาการพิษไข้ ไข้เหลือง ไข้เหนือ ไข้ปอดบวม ไข้กาฬ ไข้จับสั่น กระทุ้งพิษไข้หัว ไข้รากสาด ไข้หัด ช่วยดับพิษไข้ทั้งปวง