ผักคราดหัวแหวน

3 มิถุนายน 2565 (ผู้ดูแลระบบ) พันธ์ุไม้อุโมงค์ปิยะมิตร 1

ชื่อวิทยาศาสตร์   : Sphaeranthus africanus L.                                                                                                                      

ชื่อพื้นเมือง    : ผักคราด (ภาคกลาง) ผักตุ้มหู (ภาคใต้) ผักเผ็ด (ภาคเหนือ)                                                                 

ชื่อวงศ์    : ASTERACEAE                                                                                                                   

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์   ไม้ล้มลุก ลำต้น สูง 30-40 เซนติเมตร ลำต้นกลมอวบน้ำทอดไปตามดิน ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่เรียว ปลายแหลม ขอบจักฟันเลื่อย ดอก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ก้านช่อดอกยาว ยกตั้งทรงกลมเหมือนหัวแหวน ช่อดอกรูปกรวยคว่ำ ดอกย่อยเรียงอัดตัวกันแน่น ดอกย่อยริมช่อดอก มีกลีบประดับสีเหลืองอ่อนและสีเหลืองเข้ม ผล ผลแห้ง รูปไข่

ช่วงการออกดอกและติดผล : ตลอดทั้งปี                                                                                                         

นิเวศวิทยา : เกิดตามที่ลุ่ม ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป                                                                                                       

การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ด ปักชำ                                                                                                                                 

สรรพคุณทางสมุนไพร : ทั้งต้น    ชงดื่ม ขับปัสสาวะ แก้หอบไอ แก้ปอดบวม แก้ข้ออักเสบ แก้คออักเสบ แก้งูและสุนัขกัด ตำผสมสุราหรือน้ำส้มสายชู ชุบสำลีอมแก้ฝีในคอหรือต่อมน้ำลายอักเสบ แก้คออักเสบ แก้ไข้ อุดแก้ปวดฟัน ต้มดื่ม แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ชอกช้ำภายในทรวงอก เจ็บปวดสีข้าง มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่                                    

                                ใบ       รสเอียนเบื่อเล็กน้อย แก้ปวดศีรษะ แก้โลหิตเป็นพิษ                                                                      

                                ดอก      รสเอียนเบื่อ ขับน้ำลายแก้โรคในคอ แก้ปวดฟัน แก้โรคติดอ่างในเด็ก รักษาแผลในปากคอ  แก้ลิ้นเป็นอัมพาต                                                                             เมล็ด     รสเอียน เคี้ยวแก้ปากแห้ง                                                                                                                                      

                                ราก      ต้มดื่มเป็นยาถ่าย อมและบ้วนปาก แก้อักเสบในช่องปากนำมาเคี้ยว แก้ปวดฟัน