พริกไทยป่า (จุฬาภรณ์ 9)

11 มีนาคม 2565 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ในพื้นที่จุฬาภรณ์พัฒนา 9

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper ribesioides Wall.

ชื่อพื้นเมือง       ลาดอบือนาฮูแต ลาดอบือนามาเล (ยะลา-มลายู)

ชื่อวงศ์            :  PIPERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เลื้อย

      ลำต้น ไม้เถาเลื้อย เกาะยึดติดอยู่กับค้างหรือเลื้อยตามต้นไม้อื่นโดยใช้รากที่เจริญออกมาตามข้อของลำต้นยึดเกาะ

      ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับกันตามข้อของลำต้นและกิ่งแขนง ใบรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ลักษณะคล้ายใบพลู เนื้อใบแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน ท้องใบจะเป็นสีเขียวออกเทา และมีเส้นใบนูน ส่วนหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม

      ดอก ออกเป็นช่อตรงข้อของกิ่งแขนง ดอกย่อย ช่อดอกขณะอ่อนจะมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่มีสีเขียวและปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน

      ผล รูปทรงกลม เรียงบิดตัวกันบนแกนของช่อ ติดกันอยู่เป็นพวงห้อย ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน ผิวของผลมันเงา ผลแก่สุกมีสีส้มอมแดง เมื่อผลแห้งสีดำ ภายใน 1 ผล มี 1 เมล็ด ลักษณะแข็ง รูปร่างค่อนข้างกลมมีกลิ่นฉุน รสเผ็ด

      ช่วงการออกดอกและติดผล       เดือนธันวาคม-เดือนมกราคม

      การขยายพันธุ์                ใช้เมล็ด

แหล่งที่พบ/บริเวณที่พบ        พบตามป่าดิบชื้น เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกฮาลาซะห์ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9

การใช้ประโยชน์

      อาหาร 

  • เมล็ด ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำให้น่ารับประทานมากขึ้น

      สมุนไพร

  • ใบ แก้จุกเสียด แน่น แก้ปวดมวนท้อง
  • ดอก ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ระงับอาเจียน
  • เมล็ด ช่วยขับเสมหะ แก้หวัดและลดไข้ แก้อาการไอ หอบหืด สะอึก ขับปัสสาวะ
  • ราก แก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  • เถา แก้เสมหะ แก้ท้องร่วง แก้อุจจาระเหม็นเน่า