กะพ้อน้ำมัน (จุฬาภรณ์ 9)

11 มีนาคม 2565 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ในพื้นที่จุฬาภรณ์พัฒนา 9

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Licuala kunstleri Becc.

ชื่อวงศ์              :  ปาละห์มีเยาะ (มลายูท้องถิ่น-ยะลา)

ชื่อวงศ์              :  ARECACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์   เป็นปาล์มต้นเดี่ยวขนาดเล็ก

       ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5 เซนติเมตร สูง 1.5-3 เซนติเมตร

       ใบ รูปฝ่ามือ เรียงแบบเวียน แผ่นใบค่อนข้างกลม สีเขียวเข้ม ใบย่อย กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 20-50 เซนติเมตร มี 15-25 ใบ มีขนาดใกล้เคียงกัน ปลายใบหยักเป็นซี่ ขอบกาบใบมีรกเป็นเส้นใย สีน้ำตาลหุ้มลำต้น มีลิ้นใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-2.5 เมตร ที่ขอบมีหนามสั้นๆ สีดำ

       ดอก ออกเป็นช่อ บริเวณซอกกาบใบ ยาว 70-90 เซนติเมตร เป็นช่อแยกแขนงมี 5-8 แขนง แต่ละแขนง มี 3-6 ช่อย่อย

       ผล รูปกลม ขนาด 1 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีส้ม   

       การขยายพันธุ์      เพาะเมล็ด   

      ช่วงการออกดอกและติดผล        ตลอดปี                                                                        

แหล่งที่พบ/บริเวณที่พบ พบในในที่ร่ม เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกฮาลาซะห์ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9                                                   

ประโยชน์                                                                                                     

          ด้านอาหาร                                                                                                                                       

            - ยอดอ่อน ใช้รับประทานได้เมื่อปอกกาบนอกจะได้เนื้อในนุ่ม  มีรสฝาดหวานเล็กน้อย  ใช้จิ้มน้ำพริก

- แกนยอดอ่อน นำมาเป็นผักลวกจิ้มกับน้ำพริก

          ด้านสมุนไพร

- ยอดอ่อน เมื่อรับประทานทำให้เจริญอาหาร

          ด้านใช้สอย

            - ยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่บาน นำมาห่อข้าวเหนียวเรียกว่าต้ม

- ลำต้น  ใช้ทำเสารั้วและใช้ทำสิ่งก่อสร้างชั่วคราว

- ใบแก่  ใช้ห่อของและมุงหลังคา  หรือกั้นฝากระท่อม  ห่อข้าวเหนียว

          ด้านหัตถกรรม

- นำมาทำพัด  เป็นหัตถกรรมส่งออกของท้องถิ่น