หวายเขียว (จุฬาภรณ์ 9)

11 มีนาคม 2565 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ในพื้นที่จุฬาภรณ์พัฒนา 9

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Caladium diepenhorstii Miq.

ชื่อวงศ์                ARACEAE

ชื่ออื่น                 :   หวายขม (ตรัง) รอแตกฮียา (มลายู-ยะลา) Malaysian Dracaena

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์     ปาล์ม

        ลำต้น    ลำต้นเล็กจนถึงใหญ่เป็นกอลักษณะกลมสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นกลม ลำต้นเห็นข้อปล้องชัดเจน แตกแขนงตามข้อของลำต้น ขนาดลำต้น 5-10 เซนติเมตร บริเวณโคนต้นใหญ่ และเรียวเล็กลงเรื่อยๆ จนถึงปลาย ลำต้นเป็นปล้อง มีข้อ และมีเส้นใยเหนียวแข็ง

        ใบ         ใบประกอบ ใบย่อยเรียวยาวบิดงอออกเวียนสลีบตลอดกิ่งสีเขียวเข้ม  ขอบใบหยัก ใบแคบเรียวแหลม สีเขียวสด ก้านใบแผ่เป็นกาบ หุ้มลำต้น ก้านใบย่อยมีใบย่อยแทงออกด้านซ้าย-ขวา เกิดหนามรูปเล็บเหยี่ยวตลอดแนว มักพบหนามในด้านล่าง

        ดอก       ดอกเป็นช่อเป็นพวงสีขาว ช่อดอกที่แทงออกใหม่จะมีปลีหุ้ม เมื่อดอกแก่ปลีจะคลี่ออก มองเห็นลูกหวายเป็นตุ่มสีขาวนวลภายใน ภายในช่อดอกอาจมีทั้งดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย

        ผล         ผลกลมค่อนข้างรี ผลอ่อนสีขาว เมื่อแก่เป็นสีแดง เมล็ดรูปรี  ผลเป็นเกล็ดเรียงซ้อนกันในทิศปลายผลมาฐานผล

        การขยายพันธุ์  ใช้หน่อ เมล็ด

       ช่วงการออกดอกและติดผล      -  

แหล่งที่พบ/บริเวณที่พบ โตได้ทั้งที่แจ้งและรำไร พบตามป่าดิบชื้น เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกฮาลาซะห์ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9

การใช้ประโยชน์

          อาหาร            ต้นอ่อนมีสีขาวครีม ใช้นำประกอบอาหาร มีรสฝาด และขมเล็กน้อย

          ไม้ประดับ         ประดับตามนอกอาคารปลูกเป็นกอใหญ่ นิยมปลูกประดับทั่วไป หรือสามารถใส่กระถางตั้งในอาคารก็ได้