ชะงดเขา (จุฬาภรณ์ 9)

11 มีนาคม 2565 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ในพื้นที่จุฬาภรณ์พัฒนา 9

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Aglaneoma nitidum (Jack) Kunth.

ชื่อวงศ์               :  ARACEAE

ชื่ออื่น                  ชะมดเขา ลิ้นกระทิง บอนลิ้นทิง, หัวหลัก(ตรัง) หัดดง (กระบี่) อ้อพน (นครสีธรรมราช)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์     เป็นไม้ล้มลุก

     ลำต้น              อวบน้ำ มีทั้งทอดเลื้อยหรือตั้งตรง

     ใบ                  ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 8.5-10.5 เซนติเมตร ยาว 27-32 เซนติเมตร ก้านใบอวบน้ำ ก้านใบยาว 15-16 เซนติเมตร ผิวใบเป็นมัน แผ่นใบหนา ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเหลืองอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม เส้นกลางใบเป็นร่องตื้น เส้นใบแตกแบบขนนก โคนใบเรียวลู่ไปทางก้านใบ

ดอก ดอกออกตามซอกใบ ช่อดอกแยกเพศ อาจอยู่ด้านเดียวกับเกสรตัวเมีย ดอกสีเหลืองอ่อน

     ดอก                ดอกช่อเชิงลดมีกาบ ออกที่ซอกใบ กาบหุ้มช่อดอกสีเขียว ก้านช่อดอก กาบสีเขียว ขอบสีขาวช่อเชิงลดมีกาบอ้วนสั้น ขนาดเกือบเท่ากับกาบ

     ผล                 ผลกลมค่อนข้างรี ผลอ่อนสีขาว เมื่อแก่เป็นสีแดง เมล็ดรูปรี 

     การขยายพันธุ์  ใช้หน่อ

     ช่วงการออกดอกและติดผล      เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม  

แหล่งที่พบ/บริเวณที่พบ พบตามป่าดิบชื้น เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกฮาลาซะห์ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9

การใช้ประโยชน์

          ลำต้น        บำรุงกำลัง                                                                                                 

           ผล            รับประทานแก้ผมหงอก ยาอายุวัฒนะ เหงือกบวม ปวดฟัน ขับพยาธิในลำไส้