ราชพฤกษ์

14 พฤศจิกายน 2559 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

ราชพฤกษ์

วงศ์ CAESALPINIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fisula L.

ชื่อสามัญ Golden shower, Indian laburnum, Pudding - pine tree.

ชื่ออื่นๆ ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ลักเคยลักเกลือ (ภาคใต้), คูน (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ผิวลำต้นสีน้ำตาลแกมเทา ผิวลำต้นเรียบ

ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น การเรียงตัวของเส้นใบร่างแหแบบขนนก ใบรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ ใบเรียงแบบตรงข้าม ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง สีของใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร

ดอก ดอกช่อกระจะ กลีบดอกในตาดอกเรียงจรดกัน ดอกสมมาตรด้านข้าง กลีบดอกแยกออกจากกัน กลีบดอกสีเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน สั้น 7 อัน ยาว 3 อัน แกสรตัวเมีย 1 อัน

ผล ผลแห้งแก่ไม่แตก ผลเปลือกแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีน้ำตาล ผลแก่สีดำน้ำตาล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร

เมล็ด แบน รูปกลมรี สีน้ำตาล เรียงเป็นชั้นๆ มีผนังกั้น

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์

  • รากนำมาต้มรับประทานใช้ลดไข้ รักษาโรคในถุงน้ำดี, ใบกินสดบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ
  • ไม้ประดับ

แหล่งที่พบ สวนหย่อมหน้าหอประชุมหลังใหญ่ และข้างสนามแปตอง