กฤษณา

12 มีนาคม 2562 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

กฤษณา

ชื่อวิทยาศาสตร์                  :   Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte                                            

ชื่อวงศ์                             :   THYMELAEACEAE                                                                                               

ชื่อพื้นเมือง                        :   ไม้หอม กฤษณา (ภาคตะวันออก) , กายูกาฮู กายูการู (ปัตตานี-ภาคใต้)                                                              

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น                                                                                                   

          ลำต้น  กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 8-21 เมตร ขึ้นไป วัดโดยรอบลำต้นโตประมาณ 1.5-4.5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำ หรือรูปกรวย ลำต้นเปล่าตรงมักมีพูพอนที่โคนต้นเมื่อมีอายุมาก เปลือกด้านนอกเรียบสีเทาอมขาว เปลือกหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป เปลือกด้านนอกจะปริเป็นร่องเล็กๆ เมื่ออายุมากๆ ส่วนเปลือกชั้นในมีสีขาวอมเหลือง มีขนคล้ายเส้นไหม เป็นมันตามปลายยอดเปลือกนอก                                                            

          ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่กลับ หรือรูปยาวขอบขนานออกเรียงสลับกัน เนื้อใบเป็นมันปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน แต่ใบอ่อนสั้นและคล้ายไหม เส้นแขนงใบ 12-18 คู่ ก้านใบมีขนสั้นนุ่มยาว 3-7 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้มก่อนร่วงเป็นเหลือง                                                                 ดอก  สีขาว สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ประมาณ 4-6 ดอก มีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกิดที่ง่ามใบหรือยอด เป็นแบบ Axillary หรือ Terminal umbles ก้านดอกสั้น มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ตามง่ามใบและดอก                                                                                                 

          ผล เป็นแบบ Capsule รูปไข่กลับค่อนข้างแบน ส่วนที่ติดกับขั้วเล็ก เปลือกแข็ง มีขนสีเทา ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร                 

ช่วงการออกดอกและติดผล    ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน                                                          

แหล่งที่พบ                        พบขึ้นได้ทั่วไป                                                                              

การขยายพันธุ์                    ใช้เมล็ด                                                                                     

การใช้ประโยชน์                                                                                                                                         สมุนไพร                                                                                                                          

-  แก่น แก่นไม้กฤษนาที่มีสีดำ และมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง
คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไขต่างๆ บำบัดโรคบวมตามข้อ แก้โรคริดสีดวงทวารหนัก แก้ไขทับระดูและระดูขับไข้                                                                      

-  เนื้อไม้ บำรุงโลหิต แก้ตับปอดพิการ แก้ไข แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิตในหัวใจ  ทำให้หัวใจ
ชุ่มชื้น แก้ปวดตามข้อ ต้มดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงและรักษาหัวใจ