มะมุด

29 มีนาคม 2561 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์         Mangifera foetida Lour.

ชื่อพื้นเมือง               มะแจ มาแจ มาจัง มาแจฮูแต (มลายูท้องถิ่น-ยะลา) มะมุด มะละมุดไทย (ภาคใต้)

ชื่อวงศ์                     ANACARDIACEAE

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

            ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ลำต้น ตรงสูง 10-20 เซนติเมตร เปลือกไม้ ไม่เรียบแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลปนเทา ใบ ใบเดียวเรียงเวียนสลับ ใบรูปหอก ผิวใบหนาเรียบทั้งสองด้าน ขอบใบขนานแกมรีถึงรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบสอบ เส้นใบแตกแบบขนนก เส้นกลางใบเห็นชัดเจน ใบกว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 15-35 เซนติเมตร ดอก ช่อแยกแขนง ขนาดเล็ก ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีชมพู่ถึงแดง กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ มีกลิ่น ก้านดอกสีแดงเข้ม ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร ผล ผลเดี่ยว รูปไข่เบี้ยว เนื้อหนา ขนาดใหญ่ กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลยาว 15-20 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเหลืองแหมเขียว เนื้อผลสีเหลือง เป็นเส้นใย ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว 1 ผล มี 1 เมล็ด แข็งสีม่วง

การกิน                   -ผลดิบ รสเปรี้ยว นำมายำ

                             -ผลสุก รสเปรี้ยวอมหวาน กินเป็นผลไม้

ช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต        มกราคม – สิงหาคม