เนียง

20 ธันวาคม 2559 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

เนียง

ชื่อวิทยาศาสตร์    : Archidendron jiringa (Jack) I.C.Nielsen                                                                                   

ชื่อพื้นเมือง         : ขาวแดง (ลพบุรี) ชะเนียง (จันทบุรี) ลูกเนียง (ปัตตานี) ยือริง  (มลายู)                                        

ชื่อวงศ์               : LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE                                                                                

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์                                                                                                                                                               

           ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ แตกกิ่งต่ำ ใบอ่อนสีแดง เปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อน มีช่องระบายอากาศรูปรีตามขวางลำต้นทั่วไป ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงตรงข้าม 1 คู่ ใบย่อย 2-3 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 8-17.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง และเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ก้านใบยาว 2-2.5 เซนติเมตร ดอก สีขาวออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบของกิ่งแก่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยก 5 แฉก มีขนประปราย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก มีขนประปราย ดอกบานที่เต็มกว้าง 2-3 เซนติเมตร ผล ผลเป็นฝักแห้ง ฝักหักข้อบิดโค้งเป็นเกลียว สีน้ำตาลอมดำกว้าง 3.8-4 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร มีรอยหยักเว้าตามแนวเมล็ดเป็นข้อ เปลือกหนาแข็ง เมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเยื่อหุ้มเมล็ดบางๆ สีน้ำตาล มี 1 เมล็ดต่อข้อ

ช่วงการออกดอกและติดผล : ระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนกรกฎาคม                                                             

นิเวศวิทยา : ป่าดิบ ป่าเบญจพรรณบริเวณหุบเขาลาดชัน                                                                                                

การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ด                                                                                                                                     

สรรพคุณทางสมุนไพร :                                                                                                                                                                  

             ฝักอ่อน  ช่วยทำลายกรดซึ่งเป็นพิษสำหรับตับ