มะขาม

23 พฤศจิกายน 2559 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

มะขาม

วงศ์ CAESALPINACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.

ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date.

ชื่ออื่นๆ ขาม (ภาคใต้), ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา), จือลาฆี (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 5-8 เมตร เส้นรอบวง 100-150 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล ผิวลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ

ใบ ใบประกอบแบบขนนก การเรียงตัวของเส้นใบเป็นร่างแหแบบขนนก ใบรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบมีลักษณะคล้ายกระดาษ ใบเรียงแบบตรงข้าม ด้านบนแผ่นใบจะเกลี้ยง สีของใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบมีสีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร

ดอก ดอกช่อกระจะ กลีบดอกในตาดอกเรียงจรดกัน มีสมมาตรด้านข้าง วงกลีบดอกแยกออกจากกัน กลีบดอกสีเหลืองมีจุดสีแดงอยู่บนกลีบดอก มีกลีบดอก 3 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 ผล

ผล ผลสด ผลมีเนื้อหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเทาขาว ผลแก่สีน้ำตาล ผลสุกสีน้ำตาล ผลมีขนาดประมาณ 3-20 เซนติเมตร

เมล็ด ในหนึ่งผลมีหลายเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล มีลักษณะกลมแบน มันวาว

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง

การใช้ประโยชน์

  • ใบใช้ขับเสมหะ, เมล็ดใช้ขับพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน
  • ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้, ผลสุกทำเป็นมะขามเปียก

แหล่งที่พบ ด้านหน้าอาคาร 5, ข้างสนามแปตอง และข้างอาคารประกอบ 2