ไผ่ตงหวาน

16 มกราคม 2563 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

ไผ่ตงหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์            :   Dendrocalamus asper (Schultes f.) Backer ex Heyne

ชื่อวงศ์                     :   GRAMINEAE

ชื่อพื้นเมือง                :   ไผ่ตง (กรุงเทพ) บูโละมานิส (มลายู-ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ

ลำต้น   มีลำต้นที่ยาวและสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 12-18 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวอมดำ  ลำตรงอัดกันเป็นกอค่อนข้างแน่น ปลายลำโค้งถึงห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 9-12 เซนติเมตร  ปล้องยาว 18-48 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1-3.5 เซนติเมตร ลำอ่อนปล้องล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปล้องบนมีขนสีขาวหรือสีเทาปกคลุม ลำแก่สีเขียวอมเทา ปล้องล่างยังมีขนปกคลุมหนาแน่นและมักมีรากอากาศออกตามข้อ แตกกิ่งต่ำหรือตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีข้อลำ 3-5 กิ่ง หน่อมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมดำหรือน้ำตาลอมม่วง น้ำหนักหน่อประมาณ 5-8 กิโลกรัม รสชาติหวาน เนื้อกรอบและขาวละเอียด

ใบ       ใบเดี่ยว   ใบมีสีเขียวเข้มหนา เรียงสลับ 2 แถว   ใบรูปหอก  กว้าง 0.6-1.5 เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลม  โคนใบมน ขอบใบเรียบคม  ผิวใบด้านบนเรียบ สีเขียวอ่อน ใบแก่สีเหลืองอ่อน มีเส้นลายใบ ข้างละ 3 - 5 เส้น มีกาบหุ้มลำต้นบางแนบชิดลำต้นสีน้ำตาลอมม่วงหรือสีน้ำตาลจนถึงสีเขียวอ่อน ไม่หลุดร่วง ยอดกาบบางเรียวสอบไปหาปลาย ไม่มีติ่ง กาบตอนปลายกาบตรงที่ต่อกับใบจะมีลิ้นใบ

ดอก     ช่อดอกย่อยเทียมยาว 5–9 มิลลิเมตร ดอกย่อยสมบูรณ์ 4–5 ดอก ปลายช่อดอกย่อยมีดอกที่พัฒนาไม่เต็มที่ 1 ดอก เกสรตัวผู้ 6 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกอิสระ ยอดเกสรเพศเมีย 1 อัน

ผล      -

ช่วงการออกดอกและติดผล         -

แหล่งที่พบ                          พบขึ้นตามป่าทั่วไป                                                                 

การขยายพันธุ์                      การแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด

         

การใช้ประโยชน์

          อาหาร

  • หน่อ นำมาบริโภคสามารถประกอบอาหารได้หลายชนิด

สมุนไพร                                                                                                                  

  -    ราก ใช้น้ำต้มรากช่วยลดอาการปวดข้อ

ใช้สอย

  • ลำใช้ก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องจักสานและใช้เป็นเชื้อเพลิง