ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)

19 มีนาคม 2563 (ผู้ดูแลระบบ) ผลสำรวจชายแดนใต้โพล

ชายแดนใต้โพล by YRU สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” โดยได้ทำการเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 10 - 12 มีนาคม 2563 จากประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 1,099 หน่วยตัวอย่าง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

ผลสำรวจความคิดเห็นต่อเรื่อง “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกค่อนข้างมีความกังวลต่อการแพร่ระบาด “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” ร้อยละ 55.05 รองลงมา คือ มีความกังวลมาก ร้อยละ 29.48 ไม่ค่อยมีความกังวล ร้อยละ 12.74 และไม่มีความกังวลเลย ร้อยละ 2.73

6 วิธีการป้องกัน “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” ของประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประชาชนส่วนใหญ่ป้องกัน “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” โดยวิธีการใส่หน้ากากป้องกันทุกครั้ง เมื่อต้องออกไปอยู่ในที่ชุมนุม ร้อยละ 48.14 รองลงมา คือ การล้างมือเป็นประจำ และทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ร้อยละ 20.38 การรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ “ ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” ร้อยละ 16.38 การหลีกเลี่ยงการอออกนอกบ้าน และไปในสถานที่ชุมนุม ร้อยละ 6.73 รีบไปพบแพทย์ เมื่อพบว่าตนเองมีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บ คอ มีน้ำมูก หรือหายใจเหนื่อยหอบ ร้อยละ 5.28 และประชาชนบ้างส่วนมีความคิดเห็นว่า ใช้ชีวิตปกติ ไม่จำเป็นต้องป้องกัน ร้อยละ 3.09

สำหรับ 3 อันดับทีี่ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยากให้รัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)”  พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีมาตรการแจกอุปกรณ์ป้องกัน “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ร้อยละ 53.50 รองลงมา คือ ตรวจเช็คร่างกายุทุกคนที่กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 33.12 และการให้ความรู้หรือข้อมูลผ่านสื่อเว็บไซต์กลางที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” ร้อยละ 13.38

เมื่อพิจารณาข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 40.03 รองลงมา คือ จังหวัดปัตตานี  ร้อยละ 34.67 และจังหวัดยะลา ร้อยละ 25.30 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.42 รองลงมา คือ เพศชาย ร้อยละ 35.21 และเพศทางเลือก ร้อยละ 0.37 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีอายุ 20 – 30 ปี ร้อยละ 34.48 รองลงมา คือ มีอายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 31.76 มีอายุ 31 – 40 ปี ร้อยละ 15.38 มีอายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 10.92 มีอายุ 51 – 60 ปี ร้อยละ 6.37 และมีอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.09 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่นับถือศาสนาศาสนาอิสลาม ร้อยละ 92.72 รองลงมา คือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 6.73 และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.55 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 64.33  รองลงมา คือ ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 33.21 ระดับปริญญาโท  ร้อยละ 2.28 และระดับปริญญาเอก ร้อยละ 0.18 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักศึกษา ร้อยละ 20.75  รองลงมา คือ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปร้อยละ 19.11 ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.56 เป็นข้าราชการและพนังงานของรัฐ ร้อยละ 14.01 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 11.10 ประกอบอาชีพพนักงาน หรือลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 5.73 พนักงาน หรือลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.73 ประกอบอาชีพครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 3.91 และว่างงานร้อยละ 6.10

 

ข้อมูลทั่วไปของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน

ร้อยละ

1.1 เพศ

หญิง

708

64.42

ชาย

387

35.21

เพศทางเลือก

4

0.37

รวม

1099

100.00

1.2 อายุ

ต่ำกว่า 20 ปี

120

10.92

20 – 30 ปี 

379

34.48

31 – 40 ปี

169

15.38

41 – 50 ปี

349

31.76

51 – 60 ปี

70

6.37

61 ปีขึ้นไป

12

1.09

 รวม

1099

100.00

1.3 ศาสนา

พุทธ

74

6.73

อิสลาม

1019

92.72

คริสต์

6

0.55

 รวม

1099

100.00

1.4 ภูมิลำเนา/พื้นที่อำเภอ

ยะลา

278

25.30

ปัตตานี

381

34.67

นราธิวาส

440

40.03

 รวม

1099

100.00

1.5 ระดับการศีกษา

ต่ำกว่าปริญญาตรี

707

64.33

ปริญญาตรี

365

33.21

ปริญญาโท

25

2.28

ปริญญาเอก

2

0.18

รวม

1099

100.00

1.6 อาชีพ

นักเรียน/ นักศึกษา

228

20.75

พนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน

63

5.73

เกษตรกร

122

11.10

ธุรกิจส่วนตัว

160

14.56

พนักงาน/ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

52

4.73

ข้าราชการ/ พนังงานของรัฐ

154

14.01

รับจ้างทั่วไป

210

19.11

ว่างงาน

67

6.10

ครู/บุคลากรทางการศึกษา

43

3.91

 รวม

รวม

1099

 

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม

         2.1 ระดับความวิตกกังวลถึงการแพร่ระบาด “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)”

 

รายการ

จำนวน

ร้อยละ

มีความกังวลมาก

324

29.48

ค่อนข้างมีความกังวล

605

55.05

ไม่ค่อยมีความกังวล

140

12.74

ไม่มีความกังวลเลย

30

2.73

รวม

1099

100.00

 

2.2 วิธีการป้องกัน “ ไวรัสโคโรนา (COVID – 19) ”

รายการ

จำนวน

ร้อยละ

รับฟังข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ “ไวรัสโคโรนา

 (COVID – 19)”

180

16.38

ใส่หน้ากากป้องกันทุกครั้ง เมื่อต้องออกไปอยู่ในที่ชุมนุม

529

48.14

ล้างมือเป็นประจำ และทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ

224

20.38

หลีกเลี่ยงการอออกนอกบ้าน และไปในสถานที่ชุมนุม

74

6.73

รีบไปพบแพทย์ เมื่อพบว่าตนเองมีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บ คอ มีน้ำมูก หรือหายใจเหนื่อยหอบ

58

5.28

ใช้ชีวิตปกติไม่จำเป็นต้องป้องกัน

34

3.09

รวม

1099

100.00

 

2.3 มาตรการที่รัฐบาลควรมีในป้องกันการแพร่ระบาดของ “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)”

รายการ

จำนวน

ร้อยละ

แจกอุปกรณ์ป้องกัน “ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)” โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

324

29.48

ตรวจเช็คร่างกายทุกคนที่กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง

605

55.05

ให้ความรู้หรือข้อมูลผ่านสื่อเว็บไซต์กลางที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ

“ไวรัสโคโรนา (COVID – 19)”

140

12.74

รวม

1099

100.00