ผู้บริหารพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่สำรวจศิลปกรรมท้องถิ่น "สะพานยีลาปัน"

6 พฤษภาคม 2566 (ผู้ดูแลระบบ) ข่าวกิจกรรม
วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. อาจารย์ธนวัฒน์ พรหมสุข รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่สำรวจศิลปกรรมท้องถิ่น "สะพานยีลาปัน" หรือชื่อเป็นทางการว่า "สะพานหงสกุล" สะพานเชื่อมประวัติศาสตร์ ซึ่งพาดข้ามแม่น้ำปัตตานีที่ไหลมาจาก อ.เบตง จ.ยะลา มุ่งหน้าไปที่ จ.ปัตตานี ของถนนหมายเลข 410 ยะลา – เบตง สะพานดังกล่าว คือ สะพานแห่งประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเมื่อโลกเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ของไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2485 ต้องการใช้ไทยเป็นทางผ่านในการขนยุทโธปกรณ์และกำลังพลไปโจมตีพม่าและเพื่อยึดครองอินเดีย จึงได้สร้างสะพานเหล็กแบบรวงผึ้ง โดยโครงสร้างเป็นเหล็กกล้า กว้าง 6 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร เมื่อสงครามสงบสะพานยีลาปันจึงกลายเป็นสะพานที่สำคัญ หลังสงครามจบ กรมทางหลวงเข้ามาสร้างต่อ แล้วเสร็จ พ.ศ. 2493 ในสมัยนายถวัลท์ หงสกุล เป็นนายช่างเขตสงขลา กระทั่ง พ.ศ. 2538 แขวงการทางยะลา ได้สร้างสะพานคอนกรีตขึ้นมาทดแทนใหม่ เนื่องจากสะพานเดิมแคบ ไม่สะดวกใช้สัญจร สะพานยีลาปันแบบเหล็กจึงกลายเป็นอนุสรณ์ และเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ ตลอดจนจุดท่องเที่ยว
ข้อมูลประวัติสะพาน : Anusorn Srikhamkhwan: ยีลาปัน สะพานเชื่อมประวัติศาสตร์