ประวัติความเป็นมา

29 มีนาคม 2567 (ผู้ดูแลระบบ) เกี่ยวกับโครงการ อพ.สธ.

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (อพ.สธ.-มรย.)

Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (RSPG-YRU)

          การร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากร อนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่างๆ ที่ส่งผลและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

        1. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศไทย ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมแลภูมิปัญญา

        2. เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่างๆ ของประเทศไทยนำไปสู่การอนุรักษ์ และพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง

        3. เพื่อสร้างจิตสำนึก ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์ถึงประชาชนชาวไทย

        4. เพื่อให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชรวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ

        5. เสริมสร้างสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายระดับต่างๆ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากร

การดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มีกรอบการดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรม ดังนี้

F: Frame (กรอบการดำเนินงาน)

A: Activity (กิจกรรม)

  F1  กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร

 

 

    A1  กิจกรรมปกปักทรัพยากร

    A2  กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร

    A3  กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร

  F2  กรอบการใช้ประโยชน์

 

 

    A4  กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร

    A5  กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร

    A6  กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร

  F3  กรอบการสร้างจิตสำนึก

 

    A7  กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร

    A8  กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร

 

ความเป็นมา หลักการและเหตุผล

          มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ร่วมวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่หุบเขาลำพญา ตำบลลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยดำเนินการสำรวจพรรณไม้ พันธุ์สัตว์ เห็ดและภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ภายใต้โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพชายแดนภาคใต้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2558-2559 ได้เพิ่มพื้นที่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิทยาเขตแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่กำลังฟื้นสภาพจากการเคยเป็นป่าเสื่อมโทรม ที่ถูกบุกรุกทำลายมาก่อนที่มหาวิทยาลัยได้เข้ามาใช้ประโยชน์

          ในปี พ.ศ. 2560-2561 เพื่อเป็นการสานต่อพระราชปณิธานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระราชวโรกาสขอสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และได้รับพระราชานุญาตให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

          ปี พ.ศ. 2562 ถึงปัจจุบัน อพ.สธ.-มรย. ได้ดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรม คือ

          1) กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร 1.1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร  1.2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร 1.3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร

          2) กรอบการใช้ประโยชน์      2.1 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร  2.2 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร  2.3 กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร

          3) กรอบการสร้างจิตสำนึก    3.1 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร  3.2 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร