ความนิยมในการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

12 ตุลาคม 2560 (ผู้ดูแลระบบ) ผลสำรวจชายแดนใต้โพล

 

          

          ชายแดนใต้โพล By YRU สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสำรวจความคิดเห็น เรื่อง ความนิยมในการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18–19 กรกฎาคม 2560          จากนักเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ทั้ง 33 อำเภอ จำนวน 1,453 ตัวอย่าง

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.3 รองลงมาเป็นเพศชาย ร้อยละ 21.7       กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแบบบูรณาการร้อยละ 41 นักเรียน     ที่เรียนโรงเรียนของรัฐร้อยละ 32 นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเอกชนร้อยละ 26.2 และนักเรียนปอเนาะร้อยละ 0.8       ส่วนช่วงชั้นที่กำลังศึกษาอยู่ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 87.5 และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 12.5 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส่วนใหญ่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.01-3.00 ร้อยละ 48.9 รองลงมา 3.01-3.50 ร้อยละ 31.4 ผลสัมฤทธิ์ที่ 3.51-4.00 ร้อยละ 14 และผลสัมฤทธิ์ที่ ต่ำกว่า 2.00 ร้อยละ 5.6

          ผลจากการสำรวจ เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสาขาหรือคณะที่ได้รับความนิยมในการเลือกศึกษาต่อ           (5 อันดับ) พบว่า อันดับที่ 1 คณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 21.3 อันดับที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์      คิดเป็นร้อยละ 15.3 อันดับที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี/คณะบริหารธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 6.9                อันดับที่ 4 คณะเภสัชศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 6.3 และอันดับที่ 5 คณะแพทย์ศาสตร์/แพทย์แผนไทย คิดเป็นร้อยละ 5.3 โดยปัจจัยที่ส่งอิทธิพลในการเลือกหลักสูตรเหล่านั้น พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เลือกตามความชอบและความสนใจส่วนตัวร้อยละ 83.1 รองลงมาเลือกตามความพอใจและความเห็นของผู้ปกครอง ร้อยละ 12.5 นอกจากนี้เลือกตามความต้องการของตลาดแรงงานร้อยละ 1.9 เลือกตามครูแนะแนว รุ่นพี่หรือศิษย์เก่าของโรงเรียนแนะนำ ร้อยละ 1.3 เลือกตามเพื่อน กลุ่มเพื่อนที่ชักชวนกัน ร้อยละ 0.9 และเลือกตามกระแสนิยม ร้อยละ 0.3 

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยมในการเลือกศึกษาต่อ ( 5 อันดับแรก ) พบว่า   อันดับที่ 1 ร้อยละ 31.9 อยากเข้าศึกษาต่อที่

มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา อันดับที่ 2 ร้อยละ 26.3 อยากเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อันดับที่ 3 ร้อยละ 9 อยากเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยนราธิวาส       ราชนครินทร์ อันดับที่ 4 ร้อยละ 4.8 อยากเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฟาฎอนีและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           และอันดับที่ 5 ร้อยละ 4.5 อยากเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสถาบันการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากจากบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาร้อยละ 51.1 รองลงมาคือสถานศึกษาอยู่ในภูมิลำเนา สะดวกต่อการเดินทางร้อยละ 16.6 ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวร้อยละ 12.5 มีหลักสูตร/สาขาให้เลือกเรียนที่น่าสนใจและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานร้อยละ 8.6 การได้รับโควตาล่วงหน้าก่อน admission ร้อยละ 5.9 และคณาจารย์มีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับร้อยละ 5.02

          ประเด็นที่น่าสนใจคือเมื่อถามเกี่ยวกับช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยที่อยากเข้าศึกษาต่อ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ติดตามจากข้อมูลการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบต่างๆร้อยละ 57.2 รองลงมา คือ จากการบอกกล่าวจากเพื่อน รุ่นพี่หรือศิษย์ของมหาวิทยาลัยร้อยละ 27.3 และช่องทางอื่นๆอีกตามความสะดวก

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มตัวอย่าง

จำนวน(คน)

ร้อยละ

1. เพศ

 

หญิง

1,138

78.3

ชาย

315

21.7

รวม

1,453

100.0

2. อายุ

 

          12–14 ปี

104

7.2

          15–18 ปี

1,307

90

          19-22 ปี

42

2.9

รวม

1,453

100.0

3.ศาสนา

 

 

           อิสลาม

1,308

90

           พุทธ

145

10

รวม

1,453

100.0

4. กลุ่ม

 

 

         นักเรียนโรงเรียนของรัฐ

465

32

         นักเรียนโรงเรียนเอกชน

380

26.2

         นักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแบบบูรณาการ

596

41

         นักเรียนโรงเรียนปอเนาะ 

12

0.8

รวม

1,453

100.0

5. กำลังศึกษาระดับ

 

 

          มัธยมศึกษาตอนต้น

1,272

87.5

          มัธยมศึกษาตอนปลาย

181

12.5

รวม

1,453

100.0

6. แผนกการเรียน

 

 

         วิทยศาสตร์-คณิตศาสตร์

1,054

72.5

         ศิลปะ-ภาษา

178

12.3

         ศิลปะ-คำนวณ

67

4.6

         ศิลปะ-สังคม

51

3.5

         อื่นๆ

103

7.10

รวม

1,453

100.0

 

กลุ่มตัวอย่าง

จำนวน(คน)

ร้อยละ

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

ต่ำกว่า 2.00

82

5.6

2.01-3.00

711

49

3.01-3.50

456

31.4

3.51-4.00

204

14

รวม

1,453

100.0

8. รายได้ครัวเรือน/เดือน

 

          น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท

454

31.2

          5,000 – 10,000 บาท

744

51.2

          10,001 – 20,000 บาท

165

11.4

          20,001 -  50,000 บาท

67

4.6

          50,000 บาทขึ้นไป

23

1.6

รวม

1,453

100.0

 

ผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง ความนิยมในการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

1. สาขาหรือคณะที่ได้รับความนิยมในการเลือกศึกษาต่อ (5 อันดับแรก)

จำนวน (คน)

ร้อยละ

อันดับที่ 1 คณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์

310

21.3

อันดับที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์

223

15.3

อันดับที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี/คณะบริหารธุรกิจ

100

6.9

อันดับที่ 4 คณะเภสัชศาสตร์

91

6.3

อันดับที่ 5 คณะแพทย์ศาสตร์ / แพทย์แผนไทย

77

5.3

 

2. ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลในการเลือกหลักสูตรเหล่านั้น

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ตามความชอบ และความสนใจส่วนตัว

1,207

83.1

ตามความพอใจและความเห็นของผู้ปกครอง

182

12.5

ตามความต้องการของตลาดแรงงาน

27

1.9

ตามครูแนะแนว รุ่นพี่หรือศิษย์เก่าของโรงเรียนแนะนำ

19

1.3

ตามเพื่อน กลุ่มเพื่อนที่ชักชวนกัน

13

0.9

ตามกระแสนิยม

5

0.3

 

3. มหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยมในการเลือกศึกษาต่อ (5 อันดับแรก)

จำนวน (คน)

ร้อยละ

อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

464

31.9

อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

382

26.3

อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

131

9

อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยฟาฎอนี และ จุฬาลงก รณ์มหาวิทยาลัย

70

4.8

อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

65

4.5

 

4. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสถาบันการศึกษา

จำนวน (คน)

ร้อยละ

มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

743

51.1

สถานศึกษาอยู่ในภูมิลำเนา สะดวกต่อการเดินทาง

241

16.6

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา เหมาะสมในการเศรษฐกิจของครอบครัว

181

12.5

มีหลักสูตร/สาขาให้เลือกเรียนที่น่าสนใจและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

124

8.6

ได้รับโควตาล่วงหน้าก่อน admission

86

5.9

คณาจารย์มีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับ

73

5.02

อื่นๆ

5

0.34

 

5. ช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย

จำนวน (คน)

ร้อยละ

การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบต่างๆ

831

57.2

การบอกกล่าวจากเพื่อน รุ่นพี่หรือศิษย์ของมหาวิทยาลัย

396

27.3

กิจกรรมต่างๆที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น

185

12.7

การประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีโทรทัศน์

30

2.1

โดยวิธีอื่นๆ เช่น จากครอบครัว/ผู้ปกครอง , ครู , ครูแนะแนว

11

0.8