3 ปี การบริหารประเทศโดยรัฐบาล คสช.

12 ตุลาคม 2560 (ผู้ดูแลระบบ) ผลสำรวจชายแดนใต้โพล

คำอธิบาย: E:\Suara Poll\419\Image\yala copy.pngคำอธิบาย: 1512637_561895120566289_2049697238_nคำอธิบาย: C:\Users\Anan Doloh\Desktop\รูป POLL\โลโก้ (1).jpg

         

          ชายแดนใต้โพล By YRU สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสำรวจความคิดเห็น เรื่อง 3 ปีการบริหารประเทศโดยรัฐบาล คสช. ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24–25 กรกฎาคม 2560 จากประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ทั้ง 33 อำเภอ จำนวน 1,333 ตัวอย่าง

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.6 รองลงมาเป็นเพศชาย ร้อยละ 42.4       มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี ร้อยละ 33.6 อายุระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 27.3 อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ร้อยละ 19.7 อายุ 51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 13.1 และอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 6.4 ส่วนระดับการศึกษาสูงสุด ประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 43.6 รองลงมาระดับมัธยมหรือต่ำกว่า ร้อยละ 37.9 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ร้อยละ 8.6  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ร้อยละ 8.6 และสูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 4.1

          ผลจากการสำรวจ เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารประเทศโดยรัฐบาล คสช. สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้หรือไม่  พบว่า ประชาชนมองว่าการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. ไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ ร้อยละ 65  ส่วนร้อยละ 25.6 มองว่า สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ ในด้าน การศึกษา ร้อยละ 2.4 ด้านการงาน/ความมั่นคงด้านอาชีพ ร้อยละ 2.2 และด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.7 และที่มองว่าแย่มาก มีจำนวนร้อยละ 9.4

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย/ผลงานการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ต้องประปรุงมากที่สุด ( 3 อันดับแรก) พบว่า อันดับที่ 1 ประชาชนอยากให้รัฐบาลเร่งการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ร้อยละ 65.6 อันดับที่ 2 แก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ร้อยละ 12.7 และอันดับที่ 3 แก้ปัญการทุจริต/คอรัปชั่นในประเทศ ร้อยละ 8.3 ซึ่งสิ่งที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด ( 3 อันดับแรก) พบว่า อันดับที่ ประชาชนก็อยากให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ/ปฏิรูประบบเศรษฐกิจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.9 อันดับที่ 2 ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้  ร้อยละ 20.6 และอันดับที่ 3 ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 15.9

ในส่วนของคำถามเกี่ยวกับการรู้สึกสูญเสียอิสรภาพจากการบริหารประเทศของรัฐบาลนั้น พบว่า ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองสูญเสียอิสรภาพจากการบริหารประเทศของรัฐบาล ร้อยละ 84.5 ส่วน ร้อยละ 15.5 มองว่าตนเองรู้สึกสูญเสียอิสรภาพ ในด้าน การแสดงความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 2.7 และด้านเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 1.9

          ประเด็นที่น่าสนใจคือเมื่อถามเกี่ยวกับการได้มาของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มองว่า นายกควรได้มาจากการเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 90.8 รองลงมาคือการลงประชามติ คิดเป็นร้อยละ 4 จากการแต่งตั้ง ร้อยละ 2.7 และจากการสรรหา ร้อยละ 2.4 เมื่อถามลึกลงไปว่านายกแบบไหนที่ประชาชนคาดหวังอยากได้มาเพื่อบริหารประเทศ พบว่า ประชาชนคาดหวังอยากได้นายกที่เป็นคนดี มีความยุติธรร และมีความซื่อสัตย์ สุจริต ถัดมาอีกร้อยละ 5.9 คาดหวังอยากได้นายกที่มีความรู้ความสามารถ เก่งในเรื่องการบริหารและสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้

ข้อมูลทั่วไป

 

 

กลุ่มตัวอย่าง

จำนวน(คน)

ร้อยละ

1. เพศ

 

หญิง

768

57.6

ชาย

565

42.4

รวม

1,333

100.0

2. อายุ

 

          ต่ำกว่า 20 ปี

85

6.4

          20–30 ปี

448

33.6

          31–40 ปี

364

27.3

          41-50 ปี

262

19.7

          51 ปี ขึ้นไป

174

13.1

รวม

1,333

100.0

3.ศาสนา

 

 

           อิสลาม

1,136

85.2

           พุทธ

197

14.8

รวม

1,333

100.0

4. การศึกษา (ระดับการศึกษาสูงสุด)

 

 

         มัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า

505

37.9

         ประกาศนียบัตรวิชาชีพ

114

8.6

         ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

78

5.9

         ปริญญาตรี       

581

43.6

         สูงกว่าปริญญาตรี

55

4.1

รวม

1,333

100.0

 

ผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง 3 ปีการบริหารประเทศโดยรัฐบาล คสช.

1. ตลอดระยะเวลาการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้หรือไม่?

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ไม่เลย

867

65

ใช่

341

25.6

ในด้าน การศึกษา

32

2.4

         การงาน/ความมั่นคงด้านอาชีพ

29

2.2

         ด้านเศรษฐกิจ

23

1.7

แย่มาก

125

9.4

 

2. นโยบาย/ผลงานการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ต้องปรับปรุงมากที่สุด (3 อันดับแรก)

จำนวน (คน)

ร้อยละ

อันดับที่ 1 การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ

875

65.6

อันดับที่ 2 การแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้

169

12.7

อันดับที่ 3 การแก้ปัญหาการทุจริต/คอรัปชั่นในประเทศ

111

8.3

 

3. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด (เลือก 3 อันดับ)

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ลำดับที่ 1. ปัญหาเศรษฐกิจ / ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ

438

32.9

ลำดับที่ 2. ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้

275

20.6

ลำดับที่ 3. ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น

212

15.9

 

4. คุณรู้สึกสูญเสียอิสรภาพจากการบริหารประเทศของรัฐบาลหรือไม่ ?

 

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ไม่ได้รู้สึกว่าสูญเสียอิสรภาพ

1,126

84.5

ใช่   รู้สึกสูญเสีย ในด้าน

207

15.5

      เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 

36

2.7

      ด้านเศรษฐกิจ  

25

1.9

 

5. ตำแหน่งนายกฯควรได้มาด้วยกระบวนการใด

จำนวน (คน)

ร้อยละ

ควรมาจากการเลือกตั้ง

1,211

90.8

ควรมาจากการลงประชามติ

53

4

ควรมาจากการแต่งตั้ง

36

2.7

ควรมาจากการสรรหา

32

2.4

และนายกแบบไหนที่คาดหวังอยากให้มาบริหารประเทศ

 

 

คาดหวังว่าอยากให้นายกเป็นคนดี มีความยุติธรรม และมีความซื่อสัตย์ สุจริต

152

11.4

คาดหวังว่าอยากให้นายกเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เก่งในเรื่องการบริหารและสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้  

79

5.9