ที่มาของกิจกรรม
ตามที่ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การการแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ เป็นต้น” รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนดให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ โดยเน้นให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา นั้น
เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการความรู้ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดการเปิดรับการส่งผลงานเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการความรู้ (KM) สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้
คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานและลักษณะผลงาน
1. เป็นบุคลากรในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้
2. ผลงานต้องเกิดจากการสร้างสรรค์หรือแก้ปัญหาจากการปฏิบัติงานในสถาบันวิจัยฯ และเป็นผลงานในนามของสถาบันวิจัยฯ
3. สามารถส่งผลงานประเภทรายบุคคลหรือทีมได้
4. บุคลากรของสถาบันวิจัยฯ ทุกคนจะต้องส่งผลงานเข้าร่วมอย่างน้อย 1 ผลงาน
6. กรณีการส่งผลงานประเภททีม จะต้องมีสัดส่วนการทำผลงานอย่างน้อยร้อยละ 50 จึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีการส่งผลงานแล้ว
ประเด็นการจัดการความรู้
การจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง การจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์อื่น ๆ การจัดการเรียนรู้บูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education: WIL) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab Learning) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Integrated Learning: SIL) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือเทคนิค/กลยุทธ์/รูปแบบการจัดการเรียนรู้อื่น ๆ ที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน เป็นต้น
ไม่ใช่ผลจากงานวิจัยแต่เป็นกระบวนการการบริหารจัดการงานวิจัย เช่น การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อให้ได้ทุนทั้งภายในและภายนอก การดำเนินการวิจัยให้เสร็จตามกำหนดระยะเวลา การเผยแพร่ผลงานวิจัย (ฐาน TCI/SCOPUS) เป็นต้น
กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ท้องถิ่น เช่น ด้านการเรียนการสอนแก่ท้องถิ่น ด้านการวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น โดยมุ่งเน้นประโยชน์เชิงประจักษ์ที่เกิดแก่ชุมชนในท้องถิ่นชายแดนใต้
รูปแบบ วิธีการหรือขั้นตอน หรือนวัตกรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน เพื่อการบริหาร การจัดการ การปฏิบัติงาน และการให้บริการที่มีประสิทธิผลโดยใช้ระบบดิจิทัลเป็นเครื่องมือ มีเป้าหมายเพื่อการทำงานร่วมกัน ทำงานเชื่อมโยงกัน รองรับการให้บริการเป็นรายบุคคล เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง สามารถตอบสนองได้ทันที แบบเชิงรุก และทันเวลา ทำน้อยได้มาก และเป็นบริการข้อมูลที่เปิดเผยได้เป็นปกติ สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องร้องขอ
เกณฑ์การพิจารณา (100 คะแนน)
1. ที่มาของปัญหา/แนวคิด/หลักการ
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. ความต่อเนื่องและความคงอยู่ของผลงาน
4. ผลลัพธ์/ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลงาน
5. การนำไปใช้งานได้จริง มีความคุ้มค่า
กำหนดการนำส่งผลงานและการนำเสนอ
1. บุคลากรของสถาบันวิจัยฯ ทุกคนจะต้องส่งผลงานเข้าร่วมอย่างน้อย 1 ผลงานตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2564 ทางอีเมล์ hrd_srdi@yru.ac.th (ส่งทั้งไฟล์word และ pdf)
2. การนำเสนอผลงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในกิจกรรม SRDI TED Talk เวทีนำเสนอและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ 1 เมษายน 2564
ดาวนโหลด (Download)!
แบบส่งผลงาน “นวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ดี”
แบบรับรองผลงาน “นวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ดี" (ให้แนบเพิ่ม กรณีส่งประเภททีม)