ประวัติหน่วยงาน

7 พฤศจิกายน 2560 (ผู้ดูแลระบบ) เกี่ยวกับหน่วยงาน

 ประวัติความเป็นมา

          สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตั้งอยู่ที่อาคาร 4 ชั้น 2 เป็นส่วนราชการหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่พัฒนามาจากศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาและสำนักวิจัยและบริการวิชาการ ซึ่งตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานเล็กๆ ตามภารกิจหน้าที่ของวิทยาลัยครูยะลา ก่อนมีพระราชบัญญัติ สถาบันราชภัฏยะลา พ.ศ. 2538 สำนักวิจัยและบริการวิชาการมีฐานะเป็นศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ประกาศใช้จึงเปลี่ยนชื่อ เป็นสำนักวิจัยและบริการวิชาการ ต่อมามีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2547  มาตรา 10 ให้มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 ส่วนราชการ หนึ่งในส่วนราชการดังกล่าว ก็จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เพื่อทำหน้าที่ ส่งเสริมการวิจัย อาจารย์ ข้าราชการ บุคลากร นักศึกษา บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โดยมีคณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ดังนี้

ปี พ.ศ. 2548 - 2552    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประยูร  ดำรงรักษ์

ปี พ.ศ. 2552 - 2556    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภลักษณ์  สินธนา

ปี พ.ศ. 2556 – 2560   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งลาวัณย์  จันทรัตนา

ปี พ.ศ. 2560 – 2564   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไลวัลย์  แก้วตาทิพย์

ปี พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จริยา สุขจันทรา

ทั้งนี้มีหน่วยงานในสังกัด 3 หน่วย และโครงการพิเศษ ดังนี้

1. สำนักงานผู้อำนวยการ

          สำนักงานผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ที่อาคาร 4 ชั้น 2 เป็นหน่วยงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้   ตั้งขึ้นตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2547 ด้วยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้ง ที่ 5/ 2549 วันที่ 20 ตุลาคม 2549 

        สำนักงานผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานส่งเสริมการวิจัยและข้อมูลท้องถิ่น งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    งานวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา งานสำรวจข้อมูลตามสถานการณ์ (Poll) กำกับดูแลการปฏิบัติงานศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ และสถาบันฝึกอบรม ดังนี้

          1.1.1 ฝ่ายบริหาร โดยมีอาจารย์ชุติมา  คำแก้ว รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ดูแลฝ่ายงานบริหาร มีหน้าที่ในการบริหารงานสำนักงานผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี บริหารงบประมาณ การพัฒนาบุคลากรและการบริหารงานบุคคล การวางแผน กำกับดูแล ติดตาม งานประกันคุณภาพ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง การประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ด้านสิทธิประโยชน์และจัดหารายได้ของหน่วยงานราชการ รายละเอียดของหน้าที่ความรับผิดชอบแบ่งการบริหารงานดังนี้

                             ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                             - จัดทำยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการ แผนงานการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดแผนการดำเนินงานเพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                            - งานบริหารเอกสาร

                            - วิเคราะห์ทรัพยากร (คน/เงิน/วัสดุ/การบริการจัดการ) เพื่อให้สอดคล้องรับกับพันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้

                            - งานการเงิน บัญชี และพัสดุ

                           - งานโครงการ นโยบายและแผน จัดทำแผนงาน โครงการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้

                             - งานประกันคุณภาพการศึกษา

                            - งานบุคคลและสวัสดิการ

                            - งานประชาสัมพันธ์

                            - งานสำรวจข้อมูลตามสถานการณ์ (Poll)

                            - งานวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

                            - ดูแลบำรุงรักษาอาคารสถานที่และสาธารณูปโภค ตลอดจนพื้นที่โดยรอบสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้

          1.1.2 ฝ่ายวิจัยและส่งเสริมข้อมูลท้องถิ่น โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา สุขจันทรา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ดูแลฝ่ายงานส่งเสริมงานวิจัยและข้อมูลท้องถิ่น รายละเอียดของหน้าที่ความรับผิดชอบมีดังนี้

                             ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                             - ร่างระเบียบ ประกาศ งานวิจัยและงานวารสาร

                             - จัดทำยุทธศาสตร์ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแผนการดำเนินงานด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

                             - พัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัยและนักสร้างสรรค์ให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล

                             - ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เฉพาะทางที่มีความเป็นเลิศ ตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

                             - บริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ตลอดจนส่งเสริมการนำงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้อย่างมีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

                             - พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

          1.1.3 ฝ่ายบริการวิชาการ โดยมีอาจารย์เวคิน วุฒิวงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ดูแลฝ่ายงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานบริการวิชาการแก่อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินโครงการบริการวิชาการ อีกทั้งมีการจัดสรรงบประมาณให้ผู้ที่สนใจดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ตลอดจนกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการบริการวิชาการ มีรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

                             ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                             - จัดทำยุทธศาสตร์ นโยบาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแผนบริการวิชาการ เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                             - กำหนดยุทธศาสตร์ โมเดล และแผนโครงการท่าสาปโมเดล เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                             - จัดทำและพัฒนาระบบบริหารจัดการในการบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ

                             - เป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการของชุมชน

                             - จัดทำระบบ และกลไกงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

                             - ส่งเสริมและสนับสนุนพันธกิจการบริการวิชาการแก่สังคม โดยการจัดสรรงบประมาณโครงการบริการวิชาการแก่อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย

                             - สำรวจความต้องการรับบริการวิชาการจากประชาชน เพื่อหาแนวทางการดำเนินโครงการให้ตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง

                             - ดำเนินโครงการบริการวิชาการตามความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง ตลอดจนพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                             - กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการบริการวิชาการ

                1.1.4 ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ มีอาจารย์เวคิน วุฒิวงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้กำกับดูแล และมีนางสาวพาตีเมาะ อาแยกาจิ หัวหน้าศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ เป็นผู้ดูแลศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ มีภาระงานและหน้าที่รับผิดชอบออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

                             ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                             - ด้านการสำรวจและศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน (งานวิจัยที่ดำเนินการที่ผ่านมา เช่น ไม้ดอกไม้ประดับป่า พืชสมุนไพร ไม้ป่ากินได้ สาหร่ายน้ำจืด เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น พืชวงศ์บุกบอน เห็ด  ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน ปลาน้ำจืด และไลเคน)                

                           - ด้านการพัฒนาสื่อเผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบสื่อเรียนรู้ต่างๆ เช่น จัดทำหนังสือด้านความหลากหลายทางชีวภาพคู่มือการเรียนรู้และสื่อเผยแพร่ความรู้ดและเป็นข้อมูลพื้นฐานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ อันนำไปสู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไป

                             -  ด้านบริการวิชาการ

                                  1. อบรมการสำรวจพืช การสำรวจเห็ด  ความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

                                  2. ถ่ายทอดความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับเยาวชนในชายแดนใต้

                                  3. อบรมหรือให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเกี่ยวกับการวิจัยเบื้องต้นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

                                  4. จัดนิทรรศการงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

                                  5. บริการข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในหุบเขาลำพญา

                                  6. บริการวิชาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ

                               -  ด้านแหล่งเรียนรู้

                                ได้จัดทำแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในหุบเขาลำพญา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครูผู้สอน อาจารย์และประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดใกล้เคียง ประกอบด้วยแหล่งเรียนรู้ ดังนี้

                                 1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติหุบเขาลำพญา

                                 2. สวนเรียนรู้พฤกษศาสตร์ลำพะยา

                                 3. ห้องจัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในหุบเขาลำพญา ณ สำนักงานศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพลำพะยา

                                 4. แหล่งเรียนรู้ด้านการขยายพรรณไม้

                                 5. แหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

           1.1.5 สถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาชายแดนใต้ โดยมี อาจารย์ ดร.บุญสิทธิ์  ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้กำกับติดตามและประเมินผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้กำกับดูแล และมีอาจารย์อารยา  ชินวรโกมล ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ดูแลสถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาชายแดนใต้ สถาบันฝึกอบรมเพื่อพัฒนาชายแดนใต้ มีหน้าที่ส่งเสริม จัดทำหลักสูตรและดำเนินการฝึกอบรม เพื่อเป็นการให้บริการวิชาการ ให้ความรู้สู่ชุมชนอันจะทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองต่อไป มีรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

     ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

            - สำรวจความต้องการการรับบริการวิชาการจาหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน

            - ดำเนินโครงการบริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

                                   - จัดทำแบบประเมินผลการฝึกอบรมในด้านต่างๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

 

2.  ศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา  สุขจันทรา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้กำกับ ติดตาม ประเมินผล และดร.สุนิตย์  โรจนสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีหน้าที่กำกับ ดูแล ตรวจสอบการบริหารจัดการโครงการประจำและโครงการบริการวิชาการ และติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

                             ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                                 - เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยสามารถผลิตครูวิทยาศาสตร์และบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และระดับชาติ

                                 - เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาของสถาบันได้ศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และระดับชาติให้มากขึ้น และมีคุณภาพ

                                - เพื่อเป็นแหล่งความรู้เผยแพร่ และให้บริการแก่สังคม ชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติเพื่อเป็นแหล่งรับบริการวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์ตามศักยภาพของศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ เพื่อสนองความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และระดับชาติ

                               - เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมีการพัฒนาความรู้กับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

                 2.1 คลินิกเทคโนโลยี โดยมีอาจารย์ ดร.บุญสิทธิ์  ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการเป็นผู้ดูแลในตำแหน่งผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และผศ.สมภพ เภาทอง เป็นผู้ดูแลในตำแหน่งผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ดูแลในเรื่องการพิจารณาข้อเสนอโครงการในแต่ละปี การบริหารจัดการงบประมาณโครงการบริการให้คำปรึกษาฯและการลงพื้นที่เพื่อบริการวิชาการในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

                            ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                            - เป็นศูนย์ประสานงานคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ในการดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูงในการดำเนินงานการพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                             - สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการเทคโนโลยีของกลุ่มเป้าหมายรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีที่เป็นของสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายรวมทั้งผลงานที่เป็นภูมิปัญญาไทยเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี

                             - ดำเนินกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนหรือทั้งหมดจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ บูรณาการร่วมกับแหล่งงบประมาณอื่นๆ

 

3. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีอาจารย์เวคิน วุฒิวงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เป็นผู้กำกับ ติดตาม ประเมินผล และอาจารย์มานพ  ทองไทย เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมสนับสนุนภารกิจทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

                            ภาระงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบ

                             - ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจะเป็นแกนกลางในการนำบุคลากรของมหาวิทยาลัยร่วมกับบุคลากร นักศึกษา ในการเผยแพร่และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏ

                             - งานด้านข้อมูลวัฒนธรรม มีการลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลความรู้ด้านวัฒนธรรมและศิลปกรรมลงในฐานข้อมูลวัฒนธรรม

                             -  ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับเครือข่ายภายใน ได้แก่  กองพัฒนานักศึกษา  สำนักวิจัย  คณะวิชาต่าง ๆ  และองค์กรนักศึกษาภายในร่วมกันประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการแสดงจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของตน  ทั้งประสงค์ที่ร่วมกับฝ่ายวิชาการบูรณาการความรู้และแนวคิดเชิงอนุรักษ์กับเนื้อหาวิชาการสู่การปฏิบัติของนักศึกษาในชั้นเรียน ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมของชาติ

                             - ส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญของชาติและ ศาสนา