ประวัติความเป็นมา

20 เมษายน 2567 (ผู้ดูแลระบบ) เกี่ยวกับหน่วยงาน

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

เป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามบันทึกความร่วมมือปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายที่จะนำผลงานวิจัยและพัฒนาตลอดจนนวัตกรรมที่มีอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งของมหาวิทยาลัย ถ่ายทอดสู่ชุมชนในเขตพื้นที่บริการ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้เกิดมูลค่า โดยมีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานเอกชนเข้าร่วมโครงการมากกว่า 54 เครือข่าย 117 แห่ง

หลักการและเหตุผล

ประชาชน/ชุมชนในระดับฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) รวมทั้งยังขาดขีดความสามารถทางด้าน วทน. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจประการหนึ่งในการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้มีการสร้างกลไก/เครื่องมือในการนำเทคโนโลยีที่มาจากผลงานวิจัยและพัฒนา แพร่กระจายและถ่ายทอดฯ ไปยังชุมชน/ท้องถิ่น ที่เรียกว่า คลินิกเทคโนโลยี เมื่อปี 2546 โดยความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัด วท. และสถาบันการศึกษา ปัจจุบัน (ปี 2556) มีเครือข่ายความร่วมมือฯ กว่า 70 เครือข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 67 จังหวัด รวมทั้งสร้างและเพิ่มขีดความสามารถด้าน วทน. ให้แก่สมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี (อสวท.) ที่จะเป็นสื่อกลางด้าน วทน. ในชุมชน กว่า 6,765 คน และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้พัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นต้นแบบในการนำ วทน. ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจุบันมีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้มีการนำ วทน. ไปใช้ประโยชน์ จำนวน 251 หมู่บ้านใน 206 อำเภอ 64 จังหวัด โดยมีผู้รับประโยชน์จากการนำ วทน. ไปใช้ปีละไม่น้อยกว่า 20,000 คน สร้างรายได้หรือลดรายจ่ายได้ ปีละ 86.36 – 160.30 ล้านบาท รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลเทคโนโลยีผ่านช่องทางต่างๆ (ทางเวบไซต์ ทางโทรศัพท์ สิ่งพิมพ์ การบริการเคลื่อนที่) ทั้งที่ระบุตัวตนได้และระบุตัวตนไม่ได้ ปีละไม่น้อยกว่า 800,000 คน 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายฯให้เป็นตัวกลางการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี 
2. เพื่อส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม 
3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน/หมู่บ้าน เป็นต้นแบบในการนำ วทน. ไปใช้ในการประกอบอาชีพและการพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 
4. เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยี มีความตระหนัก และมีขีดความสามารถด้าน วทน.

กลุ่มเป้าหมาย
►ผู้รับบริการ 
1) กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มอาชีพ เป็นรายบุคคลหรือมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม รวมถึงวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรือเรียกชื่ออื่นๆ ที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย 
2) ผู้ผลิต OTOP เป็นผู้ประกอบการรายเดียวหรือรวมกันเป็นกลุ่ม 
3) สมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 
1) จังหวัด/กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
2) หน่วยงานในสังกัด วท. สถาบันการศึกษา /เอกชน ที่เป็นเครือข่ายฯ 
3) ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค

รูปแบบและกิจกรรม

การสนับสนุนงบประมาณ งานคลินิกเทคโนโลยีให้การสนับสนุนใน 4 แผนงาน

1) แผนงานการบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี
ขอบเขตการดำเนินงาน
คำปรึกษา หมายถึง การให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยีที่มีการถ่ายทอดฯไปแล้วจากเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง
ข้อมูลเทคโนโลยี หมายถึง ความรู้ที่ให้บริการในรูปแบบของ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เวบไซต์ วีดีทัศน์ เป็นต้น

การบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี โดย

  • ระบุสถานที่ วิธีการ ช่องทางในการให้บริการ เช่น ในสถานที่(ทางโทรศัพท์) เวบไซต์ การบริการนอกสถานที่ (เคลื่อนที่) เป็นต้น
  • กำหนดเรื่อง/เทคโนโลยี ที่จะให้บริการ พร้อมชื่อผู้เชียวชาญหรือเจ้าของเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 3 เรื่อง
  • กำหนดวิธีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการรับทราบช่องทางและเรื่องที่ให้บริการ รวมทั้ง ระบุช่องทาง/เวที รับฟังประเด็นปัญหา/ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

การประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย

  • การประสานงานงานภายในสถาบันการศึกษา และประสานกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี หมู่บ้าน วท.และสมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • การบริหารจัดการทางด้านการเงิน การงบประมาณ การติดตาม ประเมินผลและรายงานผล ตามเงื่อนไขที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ของแผนงานนี้และแผนงานอื่นๆที่เครือข่ายได้รับการสนับสนุนฯ
  • ประสานการดำเนินงานร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้บริหารวิทยาศาสตร์ระดับสูง (PCSO) และศูนย์ประสานงานกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมประจำภูมิภาค

    เงื่อนไข
    • ผู้เสนอขอรับการสนับสนุนฯ เป็นคณะผู้บริหารคลินิกฯ (ผู้อำนวยการคลินิกฯ/ผู้จัดการคลินิกฯ) ที่สถาบันการศึกษาแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ โดยเสนอขอรับการสนับสนุนได้ คลินิกฯเครือข่ายละ 1 โครงการ (ไม่สนับสนุนคลินิกเทคโนโลยีที่เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
    • คลินิกฯ เครือข่าย มีความพร้อม/ศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี บุคลากรและการจัดโครงสร้างขององค์กร
    • ให้ความสำคัญกับสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย อสวท. เครือข่ายหมู่บ้าน วท. ที่มีสัมฤทธิผลการดำเนินงานและมีการเข้าร่วมกิจกรรมกับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างต่อเนื่อง
    • มีการบูรณาการงบประมาณการบริการทางวิชาการของหน่วยงาน/สถาบันการศึกษา มาร่วมดำเนินโครงการในแผนงานนี้
    • มีผลการดำเนินงาน ผลสำเร็จของงาน ในภาพรวมของงานคลินิกฯ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปีปัจจุบัน
    • มีสัมฤทธิผลของการดำเนินโครงการในแผนงานนี้ในปีที่ผ่านมาครบถ้วนทุกประการ

วงเงินเสนอขอรับการสนับสนุนฯ ไม่เกิน 250,000 บาท/โครงการ