กระดังงา

12 มีนาคม 2562 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

กระดังงา

ชื่อวิทยาศาสตร์        :   Polyalthia jenkinsii Hook.f.& Thomson

ชื่อวงศ์                    :   ANNONACEAE

ชื่อพื้นเมือง              :   กระดังงา (ทั่วไป); กระดังงาไทย, กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง); สะบันงา, สะบันงาต้น (ภาคเหนือ) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ยืนต้น                                                                                         

ลำต้น เป็นไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกเรียบ สีเทาปนน้ำตาลเป็นร่องตามยาว เนื้อไม้เปราะ

ใบเดี่ยว รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน มีขนสีน้ำตาลเข้ม กว้าง 3.5-6 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน

ดอก  ดอกเดี่ยว ออกตรงซอกใบ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนสีเหลือง มีกลิ่นหอม

ผล      เป็นผลกลุ่ม มี 15-30 ผล ก้านช่อผลยาว 1-2 เซนติเมตร แต่ละผลรูปรี เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม มี 1 เมล็ด              

ช่วงการออกดอก       บานได้ตลอดทั้งปี และออกดอกมากในช่วงเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม

แหล่งที่พบ                 พบขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง 100-400 เมตร

การขยายพันธุ์          ใช้เมล็ด                                                                  

การใช้ประโยชน์                                                                                                       

สมุนไพร                                                                                                                  

-    ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการท้องเสีย

-     รากกระดังงา มีสรรพคุณเป็นยาคุมกำเนิด

-     ใบกระดังงา ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้อาการคัน

-     ดอกกระดังงา มีรสหอมสุขุม มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน ใช้ปรุงเป็นยาหอม ใช้เป็นยาชูกำลัง ทำให้หัวใจชุ่มชื่น บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้อาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ