โสมไทย

12 มีนาคม 2562 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

โสมไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์        :   Talinum paniculatum Gaertn.

ชื่อวงศ์                    :   PORTULACACEAE

ชื่อพื้นเมือง              :   ว่านผักปัง โสมคน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  พืชล้มลุก

          ลำต้น เป็นเหลี่ยม ลำต้นฉ่ำน้ำ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ 

          ใบ รูปไข่กลับปลายโตแหลม ยาว 6-13 เซนติเมตร โคนสอบแหลม ปลายใบมนหรือแหลมสั้น ขอบใบเรียบ แผ่อยู่เหนือดิน ใบมีสีเขียวเรียบเป็นมัน เนื้อใบหนา ก้านใบชูตั้ง

          ดอก มีขนาดเล็ก เป็นช่อที่ส่วนยอดหรือปลายกิ่ง ดอกสีชมพู มี 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ร่วงง่าย เกสรตัวผู้มี 10 อัน มีสีเหลืองยื่นออกมาจากกลีบดอก ก้านช่อตั้งสูง ผลสีแดง กลมรี มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเทา

          เมล็ด   จำนวนมากอยู่ภายใน สีดำ ใบและต้นนำมาผัด เป็นผักที่มีรสดี ใช้แทนผักโขมสวนได้ เป็นพืชที่อุดมด้วยวิตามิน เป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้

          ช่วงเวลาการออกดอก ต้องใช้ระยะเวลา 4-6 ปี

          แหล่งที่พบ  มีถิ่นกำเนิดจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          การขยายพันธุ์ ปักชำ

การใช้ประโยชน์

สมุนไพร

  • เหง้า รสหวานร้อน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย หรือทาภายนอกแก้อักเสบ ลดอาการบวม
  •  ใบ แก้บวมอักเสบมีหนอง ขับน้ำนม
  •  รากบำรุงปอด แก้อาการอ่อนเพลีย หรือหลังฟื้นไข้ ปัสสาวะขัด เหงื่อออกมาก ศีรษะมีไข้ ไอเป็นเลือด แก้ไอ บำรุงปอด ประจำเดือนผิดปกติ ท้องเสีย