ลำเท็ง

26 มกราคม 2561 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์ Stenochlaena palustris (Burm. f) Bedd.
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น มีดิง (มลายู-ยะลา) ผักกูดแดง ปรงสวน ลำมะเท็ง ผักยอดแดง ผักกูดมอญ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นเฟินดิน
ไรโซม เป็นเหง้า เลื้อยเกาะตามไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามดิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-2.0 เซนติเมตร
ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ กว้าง 15-30 เซนติเมตร ยาว 30-70 เซนติเมตร
ใบย่อยมีจำนวน 20-30 รูปเรียวแคบ ก้านสั้น ใบย่อยกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 13-17 เซนติเมตร
แผ่นใบเรียบ ผิวใบเรียบ ขอบเป็นกระจักละเอียด ลักษณะคล้ายหนามแหลม ปลายใบแหลม
โคนใบสอบเรียว เส้นกลางใบมีลักษณะกลม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียว
ก้านใบยาว 40-50 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-0.8 เซนติเมตร
กลุ่มอับสปอร์ เกิดตรงขอบใบ โคนใบม้วนขึ้นด้านบน ด้านล่างมีอับสปอร์ สีน้ำตาลเป็นเม็ดกลมๆ
จำนวนมากสีน้ำตาลเกาะติดอยู่อัดกันแน่น
แหล่งที่พบ พบบริเวณดินค่อนข้างแข็ง ใกล้แหล่งน้ำ แสงรำไร
การขยายพันธุ์ สปอร์
ลักษณะเด่น ใบ