บอนส้มตัวผู้

20 ธันวาคม 2559 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

บอนส้มตัวผู้

ชื่อวิทยาศาสตร์    : Homalomena rostrata Griff.                                                                                                       

ชื่อพื้นเมือง         : กลาดีมาแซ (มลายู-นราธิวาส) บอนส้ม (ภาคเหนือ) บอนหอม (แพร่)                                       

ชื่อวงศ์              : ARACEAE                                                                                                                          

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์                                                                                                                                                               

            ไม้ล้มลุก ลำต้น สั้นป้อม 5-8 เซนติเมตร ใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอก ใบเรียวและแหลม ขอบใบเรียบ ตรงโคนกลม แคบ ใบอ่อนเขียวอ่อน ใบแก่เขียวเข้ม ใบกว้าง 2-2.5 เซนติเมตรเซนติเมตร ยาว 17-19 เซนติเมตร ก้านใบยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร ดอก ดอกช่อ เป็นแท่งกลมยาว ดอกเพสผู้อยู่ตอนบน ดอกเพศเมียอยู่ตอนล่าง แต่ดอกเพศเมียน้อยกว่าเพศผู้หรืออาจจะมีดอกไม่มีเพศกั้นอยู่ระหว่างกลาง ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่สีเขียว มีกาบหุ้มช่อดอกยาว 12.5-15 เซนติเมตร กาบนี้จะพองออกมาตรงช่วงที่เป็นดอกเพศเมีย ตรงกลางคอดและตอนบนแคบ ผล ผลสด เนื้อนุ่ม มีขนาดเล็ก

ช่วงการออกดอกและติดผล : -                                                                                                                        

นิเวศวิทยา : พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะทั่วไป                                                                                                                     

การขยายพันธุ์ : โดยการแยกหัว                                                                                                                                                    

สรรพคุณทางสมุนไพร :                                                                                                                                                           

           เหง้า       เป็นยาบำรุงกำลัง                                                                                                                                                

          ทั้งต้น     ใช้รักษาอาการไอ และขับเสมหะ