ทุเรียน

20 ธันวาคม 2559 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

ทุเรียน

ชื่อวิทยาศาสตร์    : Durio zibethinus Merr.                                                                                                                                    

ชื่อพื้นเมือง          : มะทุเรียน (ภาคเหนือ) เรียน (ภาคใต้) ดรือแย (มลายู)                                                               

ชื่อวงศ์               : BOMBACACEAE                                                                                                 

 ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์                                                                                                                                                         

             ไม้ยืนต้นสูงใหญ่ โคนต้นกว้าง อาจมีพูพอน ลำต้น ขนาดใหญ่ เปลือกไม้สีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-80 เซนติเมตร มียางเมือก ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ใบเรียงแบบสลับ กว้าง 5-6.5 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ ด้านบนเรียบมัน ด้านล่างผิวสากสีน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เส้นใบแตกแบบแขนง ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มีขนนุ่มรูปดาว ใบแก่สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อหรือเดี่ยว สีขาวอมเหลือง ออกบริเวณซอกกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบแยกกัน ผล รูปไข่แบ่งเป็นพูๆ มีหนามโดยรอบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเขียวอมน้ำตาลหรืออมเหลืองแตกตรงกลางพู เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเหลืองนวล ผิวเรียบ มีเนื้อหุ้มเมล็ดค่อนข้างหนานุ่มสีขาวนวลถึงสีเหลือง รสหวาน

ช่วงการออกดอกและติดผล : ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนสิงหาคม                                                                                              

นิเวศวิทยา : พบได้ในป่าดิบชื้น                                                                                                                                        

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด                                                                                                                        

 สรรพคุณทางสมุนไพร :                                                                                                                                                               

            ใบ                 แก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ ทำให้หนองแห้ง                                                                                     

            เปลือกผล       แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝีตานซาง คุมธาตุ เผาแก้คางทูม ไล่ยุงและแมลง                           

            เนื้อหุ้มเมล็ด         แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง ขับพยาธิ                                                                                            

       ราก                         แก้ไข้ แก้ท้องร่วง