ตะไคร้หอม

20 ธันวาคม 2559 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์    : Cymbopogon nardus Rendle                                                                                                        

ชื่อพื้นเมือง         : เซอราวางี (มลายู) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) จะไคมะขูด (ภาคเหนือ)                                  

ชื่อวงศ์              : GRAMINEAE                                                                                                               

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์                                                                                                                                                            

           เป็นกอลำต้นเป็นข้อ ใบ ใบเดี่ยวยาวกว่าตะไคร้ ใบกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 100-140 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงสีเขียวกลิ่นหอม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เส้นใบแตกแบบขนาน ใบแก่สีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอม ดอก ออกเป็นช่อย่อย โดยชูก้านช่อดอกยาว ออกมาจากส่วนยอด ช่อดอกใหญ่ยาวประมาณ 2 เมตร ช่อดอกจะแยกออกเป็นแขนงซึ่งในแต่ละแขนงมี 4-5 ช่อ

ช่วงการออกดอกและติดผล : ระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนมกราคม                                                           

นิเวศวิทยา : ตามป่าทั่วไป ในที่โล่งแจ้ง                                                                                                                     

การขยายพันธุ์ : ใช้หน่อหรือเหง้า                                                                                                                        

สรรพคุณทางสมุนไพร :                                                                                                                                                                        

          ต้น            แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ                                                                                                     

          ใบ            ใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้ไม่ให้เกิดซาง                                                                                       

          ราก          แก้ลมจิตรวาด หัวใจ กระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน                                                                                              

          เหง้า         เป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ทำยาตั้งประคบน้ำมัน ใช้ทาป้องกัน ยุง มีฤทธิ์ไล่แมลงและใช้รักษาโรคเห็บสุนัข ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้                                ริดสีดวงใน ปาก ขับลมในลำไส้แก้แน่น ขับโลหิตระดู มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว ผู้ที่มีครรภ์ รับประทานอาจทำให้แท้งได้