หูปลาช่อง

14 มกราคม 2563 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ : ด้านพืช

หูปลาช่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Emilia sonchifolia

ชื่อวงศ์           :  EUPHORBIACEAE

ชื่อพื้นเมือง      ใบเงิน โพเงิน โพด่าง โพแดง โพทอง โพสาย  แสงทอง หูกระต่าย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสีน้ำตาล ตั้งตรง มีขนนุ่ม

          ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบมีรูปร่างหลายแบบทั้งแบบใบรูปกลม รูปไข่ รูปรีหรือรูปหัวใจ กว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 12-14 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลมเรียวยาวคล้ายหาง โคนใบเว้า ขอบใบหยักหรือจักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ เข่น สีเหลืองอ่อน น้ำตาลแดง หรือมีจุดประสีต่างๆ

 ดอก สีขมพู ออกเป็นข่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งขึ้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก โคนกลีบดอก

เชื่อมกันเป็นหลอด

 ผล ผลแห้งแตก

ช่วงการเก็บออกดอกและออกผล   ตลอดปี

แหล่งที่พบ       พบขึ้นตามป่าหญ้าปนกับวัชพืชชนิดอื่น พบขึ้นตามพื้นที่รกร้างทั่วไป   

การขยายพันธุ์   ปักชำกิ่ง         

ประโยชน์

สมุนไพร                                                                                               

ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานแทนผักสดจิ้มน้ำพริก หรือแกล้มกับลาบ ลำต้นใช้แก้เจ็บคอ ฝี บิด ท้องร่วงแก้อาการผื่นคัน บวมน้ำ ส่วนรากใช้แก้โรคตานขโมย และเนื่องจากมีรสจืด เย็นจึงช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้

ใบ คั้นน้ำ หยอดหูแก้เจ็บหู หยอดตาแก้เจ็บตา

ดอก สมานแผล ห้ามเลือด